
เนื่องในวโรกาสแห่งศุภมงคลวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย อย่างล้นพ้น และทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาในการที่จะพัฒนาบุคคล และประเทศชาติให้เจริญอย่างมีประสิทธิภาพได้ จากพระราชกรณียกิจของพระองค์สะท้อนให้เห็นแนวพระราชดำริ ที่ทรงมุ่งมั่น พระราชหฤทัยที่จะส่งเสริม ทำนุบำรุงการศึกษา ให้แก่นักเรียนและเยาวชนของชาติ ซึ่งเป็นพสกนิกร ของพระองค์ที่เจริญเติบโตให้เป็นพลเมืองของประเทศชาติที่ดีในภายภาคหน้า ประกอบกับ รัฐบาลสมัยนั้น มีการเร่งรัดการขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา อย่างทั่วถึงในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะมีนโยบายที่จะกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ กรมสามัญศึกษาได้เล็งเห็นว่าโรงเรียน ภปร.
ราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
รับนักเรียนประจำชายได้โอนมาอยู่ในความดูแลของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยคณะกรรมการราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษา ได้เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้น คือ นายอภัย จันทวิมล ขอให้พิจารณาและได้รับความเห็นชอบในหลักการ
ที่จะให้โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนตัวอย่างของโรงเรียนประจำ ที่อาจจะตั้งเพิ่มขึ้นในกาลต่อไป
ราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
รับนักเรียนประจำชายได้โอนมาอยู่ในความดูแลของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยคณะกรรมการราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษา ได้เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้น คือ นายอภัย จันทวิมล ขอให้พิจารณาและได้รับความเห็นชอบในหลักการ
ที่จะให้โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนตัวอย่างของโรงเรียนประจำ ที่อาจจะตั้งเพิ่มขึ้นในกาลต่อไป
และจากการดำเนินงานปรากฏว่านักเรียนของโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย เป็นนักเรียน
ที่มีระเบียบวินัย มีจรรยามารยาทเรียบร้อย มีความเป็นผู้นำ เป็นสุภาพบุรุษ มีร่างกายแข็งแรง
มีความรู้ความสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ กรมสามัญศึกษา
จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนลักษณะโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ขึ้นในเขตการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ เนื่องในวโรกาสที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี
ที่มีระเบียบวินัย มีจรรยามารยาทเรียบร้อย มีความเป็นผู้นำ เป็นสุภาพบุรุษ มีร่างกายแข็งแรง
มีความรู้ความสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ กรมสามัญศึกษา
จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนลักษณะโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ขึ้นในเขตการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ เนื่องในวโรกาสที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี
จากโครงการของกรมสามัญศึกษาดังกล่าว จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตการศึกษา 5 ได้รับการพิจารณาจากกรมสามัญศึกษาให้จัดตั้งโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เนื่องในมหามงคลวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ได้พระราชทานนามโดยใช้ชื่อโรงเรียนครั้งแรกว่า “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี”
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ได้พระราชทานนามโดยใช้ชื่อโรงเรียนครั้งแรกว่า “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี”
ต่อมาภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี” เป็นโรงเรียนที่กระทรวง
พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี” เป็นโรงเรียนที่กระทรวง
ศึกษาธิการประกาศจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 พร้อมกันกับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
ในจังหวัดอื่น ๆ อีก 8 โรงเรียน คือ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ
และโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ
และโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา
สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิจารณาที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่บริเวณหนองปลาดุก
หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่ จำนวน 94 ไร่ 3 งาน
58 ตารางวา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่ จำนวน 94 ไร่ 3 งาน
58 ตารางวา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น