วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ศาสาคริสต์


Cross Christianity.jpg
 
พระเจ้า
ตรีเอกภาพ :
พระบิดา (พระยาห์เวห์) • พระบุตร (พระเยซู) • พระวิญญาณบริสุทธิ์
ความเชื่อ
เทววิทยา • การตกในบาป • ความรอด • การพิพากษาครั้งสุดท้าย • หลักข้อเชื่อของอัครทูต • บัญญัติ 10 ประการ
คัมภีร์
คัมภีร์ไบเบิล :
ภาคพันธสัญญาเดิม • ภาคพันธสัญญาใหม่ • พระวรสาร
นิกาย
ตะวันตก
คาทอลิก • โปรเตสแตนต์ (แองกลิคัน • ลูเทอแรน • เพรสไบทีเรียน • เมทอดิสต์ • แบ๊บติสต์ • แอดเวนติสต์)
ตะวันออก
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ • ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
อตรีเอกภาพนิยม
พยานพระยะโฮวา • มอรมอน
ประวัติ
ประวัติศาสนาคริสต์ • เปาโลอัครทูต • ยุคแรก • สภาสังคายนาสากล • มหาศาสนเภท • สงครามครูเสด • การปฏิรูปศาสนา
อื่น ๆ
สถานที่สำคัญทางศาสนา • วันสำคัญ • สัญลักษณ์ • ธง • บุคคล • นักบุญ • ศิลปะ • อภิธานศัพท์ศาสนาคริสต์
Category ดูหมวดหมู่

จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข
ศาสนาคริสต์คริสต์(อังกฤษ:Christianity)ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ[2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรแตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมียเอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่นตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาซับสะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม
คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียก "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศความเชื่อนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และไว้วางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาป[10] พวกเขายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา นิกายส่วนใหญ่สอนว่าพระเยซูจะกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่สาวกของพระองค์[11] พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์[12]
ช่วงต้นคริสต์ศตรวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.2 พันล้านคนทั่วโลก[13][14] คิดเป็นหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[15][16] ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ

นิกายEdit

ดูบทความหลักที่: นิกายในศาสนาคริสต์
มนุษย์ได้แบ่งศาสนาคริสต์ให้เป็นนิกายต่างๆ ซึ่งแปรไปตามพื้นที่, วัฒนธรรม และความคิดของตน นิกายที่สำคัญมี 3 นิกายคือ
  • โรมันคาทอลิก แปลว่าสากล เป็นนิกายดั้งเดิมที่ยึดมั่นในหลักคำสอนของพระเยซูคริสต์เคารพพระนางมารีย์และนักบุญต่าง ๆ ภายในโบสถ์ของนิกายนี้จะมีรูปเคารพพระเยซูคริสต์ พระแม่มารีย์ และนักบุญต่างๆ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่สันตะสำนัก มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข โดยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอัครทูตกลุ่มแรก โดยถือว่านักบุญซีโมนเปโตรคือพระสันตะปาปาพระองค์แรก ซึ่งได้รับการยินยอมจากพระเจ้าให้ปกครองศาสนจักรทั้งมวลและสืบทอดมาถึงสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส องค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ 266 คาทอลิกมีนักบวชเรียกว่าบาทหลวง และสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก ถ้าเป็นชายเรียกว่าภราดา (brother) หญิงเรียกว่าภคินี (sister) ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสตัง"ตามเสียงอ่านภาษาโปรตุเกสผู้เผยแพร่ยุคแรก ๆ มีผู้นับถือนิกายนี้ประมาณ 1000 ล้านคน นิกายนี้ถือว่าบาทหลวงเป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ (ตัวแทนพระเจ้าในโลกนี้)
  • โปรเตสแตนต์ แปลว่าคัดค้าน แยกตัวมาจากนิกายโรมันคาทอลิกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นนิกายที่ถือว่าศรัทธาของแต่ละคนที่มีต่อพระเจ้าสำคัญกว่าพิธีกรรม ซึ่งยังแตกย่อยออกเป็นหลายร้อยคณะ เนื่องจากมีความเห็นแตกต่างเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล และการปฏิบัติในพิธีกรรม นิกายนี้ไม่มีนักบวชเชื่อว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้โดยมิต้องอาศัยบาทหลวง มีเพียงศิษยาภิบาล ที่คอยให้คำปรึกษากับผู้เชื่อ และถือว่าพระเยซูได้ทรงไถ่บาปแก่ศาสนิกทุกคนไปเมื่อถูกตรึงกางเขนแล้ว นิกายนี้มีเพียงไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งศาสนาเท่านั้น มีผู้นับถือรวมกันทุกนิกายย่อยประมาณ 500 ล้านคน
  • อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แปลว่าถูกต้อง นับถือในประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ รัสเซีย โดยแยกตัวออกไปจากศาสนาคริสต์ตะวันตก เพราะไม่อยากอยู่ภายใต้อำนาจของสันตะปาปาซึ่งมีอำนาจมากสูงกว่ากษัตริย์ (คือมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนกษัตริย์ได้) ในสมัยนั้น โดยที่มิได้เปลี่ยนแปลงข้อความเชื่อ ข้อความเชื่อของนิกายออทอดอกซ์เหมือนกับข้อความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิก แต่ละประเทศมีอัครบิดรเป็นประมุขของคริสตจักร นิกายออทอดอกซ์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าศาสนาคริสต์ตะวันออก มีศาสนิกชนรวมกันประมาณ 500 ล้านคน

พิธีกรรมสำคัญในศาสนาคริสต์Edit

พิธีกรรมสำคัญในศาสนานี้เรียกว่า "พิธีศักดิ์สิทธิ์" มีดังนี้
  • พิธีบัพติศมาหรือศีลล้างบาป เป็นพิธีแรกที่คริสตชนต้องรับ ในนิกายโปรแตสแตนต์ต้องลงน้ำทั้งตัวเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ตายจากชีวิตเก่าและถือกำเนิดในพระคริสต์แล้ว ส่วนในนิกายโรมันคาทอลิกบาทหลวงจะใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะพร้อมเจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก
  • พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หรือศีลมหาสนิท เป็นพิธีกรรมรับศีลโดยรับขนมปังและเหล้าองุ่นมารับประทาน โดยความเชื่อว่าพระกายและพระโลหิตของพระเยซู ซึ่งเป็นพิธีสืบเนื่องมาจากพิธีปัสคาของศาสนายิว
  • ศีลอภัยบาป เป็นการสารภาพบาปกับพระเจ้าโดยผ่านบาทหลวง บาทหลวงจะเป็นผู้ตักเตือนสั่งสอนไม่ให้ทำบาปนั้นอีก และทำการอภัยบาปให้ในนามพระเจ้า
  • ศีลกำลัง เป็นพิธีรับศีลโดยการเจิมหน้าผาก เพื่อยืนยันความเชื่อว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ตลอดไปและได้รับพระพรของพระจิต ทำให้เข้มแข็งในความเชื่อมากขึ้น กระทำเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิกเท่านั้น
  • ศีลสมรส เป็นพิธีประกอบการแต่งงาน โดยบาทหลวงเป็นพยาน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ว่าจะรักกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ส่วนในนิกายโปรเตสแตนต์ จะเป็นพิธีสาบานตน
  • ศีลอนุกรม เป็นพิธีสำหรับการบวชเป็นนักบวช ได้แก่ มุขนายก บาทหลวง และพันธบริกร
  • ศีลเจิมคนไข้ เป็นพิธีเจิมคนไข้โดยบาทหลวงจะเจิมน้ำมันลงบนหน้าผากและมือทั้งสองข้างของผู้ป่วย ให้ระลึกว่าพระเจ้าจะอยู่กับตนและให้พลังบรรเทาอาการเจ็บป่วย
สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง 7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์ จะมีเพียง 2 พิธี คือ พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น